วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

A healthy diet

Lesson of Today' 3 August 2015


            Today,I'm learned English Readind Strategies Subject about healthy diet. It had easy is It know about take care myself effect I can learned this subject is easy but It had hard ฺbecause I didn't about type of cuisine that unhealthy or healthy affect I'm difficult

in learning. learning, I find problem is I don't know about implication of word that I never before found so I should read English Books everyday. I have reading means is I read before subject of sentence after I read verb and object of sentence.

 This learning, I'm think that about healthy diet is goodthing because healthy diet is take care body affect smart body and

 strong body. unhealthy of cuisine is high calorie food. healthy of cuisince is low calorie food and has vitamins, protein, carbohydrate and mineral.





Pizza (unhealthy)


juice (healthy)


Chocolate (unhealthy)


salad (healthy)


French Fries (unhealthy)


hamburger (unhealthy)

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สถานที่เที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี


-      อุทยานมังกรสวรรค์ 
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร
 
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

 
  มหัศจรรย์งานสร้าง ด้วยแรงเงิน และแรงศัทธา สถานที่รวบรวมเรื่องราว
ที่มากคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ห้องเรียนที่น่าตื่นตาตื่นใจ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่อาจผ่านเลย
   ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สถานที่เคารพของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ผู้คนต้องแวะเวียนมากราบไหว้ขอพร ที่ซึ่งหลายคนเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้แล้ว จะนำมาซึ่งโชคลาภ ความร่ำรวย ความสำเร็จ และความสุข และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว รูปแบบ วิถีชีวิตของชนชาวจีน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชาวไทยเสมือนพี่กับน้อง เป็นสถานที่ที่สวยงาม ควรค่าแก่การแวะชม

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง   เป็นพุทธปฎิมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำ (Relief) ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ญวน เขมร นับถือ เป็นศิลปะแบบขอมเป็นรูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก ในศิลปะไพรกเม็ง อายุประมาณ 1300-1400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ พระนารายณ์สี่กร มีหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ประสพแต่ความสุขความเจริญ เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา เมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว มีผู้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จมดินอยู่ตรงริมศาลเจ้าพ่อ ชาวบ้านจึงช่วยกันอัญเชิญขึ้นข้างบน พร้อมกับสร้างศาลใหม่ให้เป็นที่ประทับ
มีคนจีนชื่อ เฮียกงเป็นผู้ดูแลรักษาเรื่อยมา
     เมื่อครั้งโบราณมีคำกล่าวว่า " ห้ามเจ้าไปเมืองสุพรรณจะทำให้มีอันเป็นไป " 
เมื่อ พ.ศ. 2435 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณ ได้ทรงสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง ได้ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างศาลเพิ่มขึ้น พร้อมวางแผนให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุพรรณ พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระดำรัสว่า "เข้าทีดีหนักหนา แต่เขาไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ ว่าถ้าขืนไปจะเป็นบ้าไม่ใช่หรือ" สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงกราบบังคมทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไปมาแล้วไม่เห็นเป็นอะไร ยังรับราชการมาจนบัดนี้ พระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสสั้นๆว่า "ไปซิ" จากนั้นพระองค์จึงเสด็จมาเมืองสุพรรณ ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 และทรงกระทำพลีกรรมเจ้าพ่อหลักเมือง และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างเขื่อนรอบเนินศาล ทำชานไว้สำหรับคนที่บูชา สร้างกำแพงแก้ว ต่อตัวศาลเพิ่มเติมออกมา ข้างหน้าเป็นแบบเก๋งจีน  โดยทั่วไปศาลหลักเมืองนั้นจะทำด้วยไม้ บนยอดจะเป็นหัวเม็ด แต่หลักเมืองของ สุพรรณนี้พิเศษกว่าหลักเมืองทั่วไปคือ จะเป็นหินและมีพุทธปฎิมากรอยู่ด้วย


พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร 
ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539
   ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ของจีน แบ่งเป็นห้อง 18 ห้อง
รูปแบบแปลกตาด้วยภาพ แสงสีเสียง และเทคนิกพิเศษ น่าชมเป็นอย่างยิ่ง
จีน...เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน
และเป็นชนชาติที่มีอารยะธรรมยาวนานกว่า 5000 ปี
ตั้งแต่สมัยเสินหนง....เป็นหัวหน้าเผ่าแซ่เจียง เมื่อ 5,000 ปี ก่อน
เป็นผู้คิดประดิษฐ์คันไถด้วยไม้ - ค้นคิดยาสมุนไพรชนิดต่างๆ
และสอนให้ผู้คนรู้จักการปลูกข้าว ทำไร่ไถนา
เข้ามาในยุคโบราณ..สืบกษัตริย์สายพันธุ์มังกร.......ยุค ราชวงค์เซี่ย...ราชวงค์ซาง...
ราชวงโจว..จนถึงยุค..เลียดก๊ก ซึ่งมี 7 ก๊กใหญ่ที่ครองอำนาจ
จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรก
ยุค...ราชวงศืฮั่น.....เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรือง และยาวนานที่สุดของชนชาติจีน
ยุค..สามก๊ก.......ยุคราชวงศ์..ถัง .....ราชวงศ์หยวน
ซึ่งถูกปกครองโดย จักรพรรดิ กุบไลข่าน ซึ่งเป็นชาวแมนจู
และเวลาผ่านไป จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็กดขี่ขมเหงชาวจีนอย่างมาก
จนเกิดกบฎ จูหยวนจาง(จักรพรรดิหงหวู่) ได้รวบรวม และก่อตั้งราชวงศ์..หมิง
ในสมัยราชวงศ์ชิง เป็นราชวงศ์ของเผ่าแมนจู
ปูยี....จักรพรรดิองค์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ
ดร. ซุนยัดเซ็น ยึดอำนาจจากจักรพรรดิ และสถาปนาระบอบประชาธิปไตย
หลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย
คือ เจียงไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง สุดท้ายเหมาเจ๋อตุงเป็นฝ่ายชนะ
เจียงไคเช็คหนีไปยังเกาะไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทน
กาลเวลาเดินผ่านมาจนถึงวันนี้...
นอกจากความงดงามที่ได้ชมมาแล้ว ยังมีส่วนอื่นๆ
อย่าง ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องรับฝากของ จำหน่ายหนังสือ
ห้องจำหน่ายของที่ระลึก และห้องเครื่องเล่นสำหรับเด็ก
ส่วนบริเวณรอบนอกก็จัดตกแต่งสวยงาม มีรูปปั้น ระฆังยักษ์
และน้ำตกขนาดใหญ่สวยงาม คุ้มค่ากับการแวะเที่ยวชม....
 

บันทึกนักเดินทาง
 
อลังการ พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร






- บึงฉวาก

บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ 
   บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชี้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรหรือชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด   น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1  3 เมตร

 สถานที่ท่องเที่ยวภายในบึงฉวาก

 โซนสวนสัตว์ 
   
ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50  ประกอบด้วย อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการ เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ การดูนก สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมาของบึงฉวาก มีตู้จำลองระบบนิเวศ  ห้องฉายสไลด์วีดิทัศน์ ด้านนอกอาคารมี กรงเลี้ยงนก ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ สูง 25 เมตร ภายในกรงได้รับการตกแต่งให้ดูคล้าย สภาพธรรมชาติ ประกอบด้วยนกกว่า 45 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกกาบบัว  นกเป็ดแดง ไก่ฟ้าพญาลอ และ ไก่ฟ้าสีทอง ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นไก่ฟ้าที่มีความสวยงามที่สุดในโลก มีการจำลองน้ำตกขนาดเล็กเอาไว้ภายในกรง ผู้เข้าชมจะเดินตามทางเดินที่จัดไว้ และได้สัมผัสใกล้ชิดกับนกต่าง ๆ ที่ปล่อยให้มีชีวิตอยู่ในสภาพแบบธรรมชาติ เดินผ่านหน้าเราไป หากเดินถัดไปจากกรงนก จะเป็นกรงเสือขนาดใหญ่ กรงเสือขนาดเล็ก มีเสือชนิดต่าง ๆ ให้ชมและ ที่พิเศษคือ มีลูกเสือดูดนมหมู และสัตว์สวยงามอีกหลายชนิด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่   
ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวัน
จันทร์-ศุกร์ 08-16.30 น.
เสาร์-อาทิตย์ 08.00-18.00 น.
โทร. 035-439206, 035-439210
สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก
โทร. 035-481250
1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 2. กรงเสือและกรงสิงห์โต 
กรงเสือและสิงโต ลักษณะภายในตกแต่งเป็นถ้ำและเนินหิน ให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ ซึ่งเป็นกรงเลี้ยงสัตว์ป่าตระกูลแมว อันได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือลายเมฆ เสือดาว แมวดาว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกรงสัตว์ป่าหายากอีกหลายประเภท ที่จัดแสดงไว้ เช่น นกน้ำ นกยูงและไก่ฟ้าชนิดต่างๆ ม้าลาย อูฐ และนกกระจอกเทศ 
3. สถานที่ถ่ายภาพร่วมกับสัตว์ เด็กจะได้สนุกสนานกับการถ่ายภาพบนหลังม้า
หรือถ่ายภาพคู่กับลิงอุรังอุตัง เก็บไว้เป็นที่ระลึก
4. ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่า และกรงนกใหญ่ เดินชมภายในกรงนกใหญ่ ที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายสภาพธรรมชาติ ชมพันธ์นกหายากกว่า 30 ชนิด เช่น นกยูง นกกาบบัว เป็ดแดง
5. 
เกาะกระต่าย พื้นที่คล้ายเกาะ สร้างเป็นที่พักของกระต่าย 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เจอร์ซี่ วูลลี่ และสายพันธุ์แองโกร่า ที่มีความน่ารักและสวยงาม รวมทั้งยังมีกวางดาว เนื้อทราย และจากสาเหตุที่เป็นเกาะมีพื้นที่น้ำล้อมรอบ จึงเลี้ยงปลาไว้ในกระชังอีกจำนวนมาก เพื่อให้ผู้คนได้พักผ่อนอีกประเภทหนึ่ง โดยการให้อาหาร เช่น ปลาทอง ปลาคาร์ฟ ปลาสวายเผือก ฯลฯ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-18.00 น. 
6. 
ศูนย์รวมพันธุ์ไก่ และกรงสัตว์หายาก 
เป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์ไก่ชนิดต่างๆ ทั้งสวยงาม และหายาก เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าสีทอง ไก่ฟ้าพญาลอ และสัตว์หายากอีกหลายชนิด
(ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก บาท)

7. อุทยานผักพื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติ (ชมฟรี)
   
อยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึก ให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน โดยรวบรวมผักพื้นบ้านจากทั่วภูมิภาค ของประเทศไทยกว่า 500  ชนิด มาปลูกไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงฉวาก มีทั้งสมุนไพร ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย และไม้ชื้นแฉะที่น่าสนใจได้แก่ น้ำเต้าสี่เหลี่ยม บวบหอมขนาดใหญ่ อุโมงค์น้ำพุ และการจัดสวนไม้ประดับด้วยผักพื้นบ้าน นอกจากนั้นยังมีโรงปลูกพืชระบบระเหยน้ำ และสาธิตการปลูกพืชไร้ดินจัดแสดงให้ชมด้วย และมีห้องสมุดบริการคอมพิวเตอร์ สำหรับค้นคว้าข้อมูลพันธุ์ผักต่าง ๆ
 ห้องนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตรอุทยานผักพื้นบ้านฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ เวลา 08.30-18.00 น.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร.081-948 214, 089-8361358, 035-430011
หรือสำนักงานเกษตรอำเภอเดิมบางนางบวช
โทร.035-545450 , 035-555455

(ชมฟรี)
 
8. 
เรือจักรยานน้ำ
สำหรับครอบครัวได้ออกกำลังกาย กับธรรมชาติที่สวยงามภายในบึง









 โซนสัตว์น้ำ
9. สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก (อุโมงค์ปลา)ภายในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำรวบรวมพันธุ์ ปลาน้ำจืด ปลาสวยงามและพันธุ์ปลาหายาก เอาไว้ให้ประชาชนได้ศึกษา แบ่งเป็น 3 อาคาร อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 1 จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม ทั้งพันธุ์ปลาไทย และพันธุ์ปลาต่างประเทศกว่า 50 ชนิด เช่น ปลาบึก ปลากระโห้ ปลาม้า ปลากราย ปลาช่อนงูเห่า ปลาเสือตอ เป็นต้น อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 2 ประกอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่สวยงาม บรรจุน้ำได้กว่า 400  ลูกบาศก์เมตร และมีอุโมงค์ความยาวประมาณ 8.5 เมตร ผู้ชมสามารถเดินลอดผ่านใต้ตู้ปลา ได้บรรยากาศเหมือนอยู่ใกล้สัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรก ของประเทศไทย มีนักประดาน้ำหญิงสาธิตการให้อาหารปลา นอกจากนั้นโดยรอบยังมีตู้ปลาน้ำจืดอีก 30 ตู้ และตู้ปลาทะเลสวยงามอีก 7 ตู้
การแสดงตู้ปลาใหญ่
มีเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
มี 4 รอบ ตั้งแต่เวลา 10.30 
 16.00 น.10. บ่อจระเข้น้ำจืด 
เป็นบ่อจระเข้ที่ได้จำลองให้มีสภาพใกล้เคียงกับ ธรรมชาติมากที่สุด พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ มีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยขนาด 1.5 
 4.0 เมตร ประมาณ 60 ตัว ซึ่งผู้ชมจะได้เห็นความเป็นอยู่ แบบธรรมชาติของจระเข้ และสามารถเข้าชมอย่างใกล้ชิด
มีการแสดงจระเข้วันเสาร์ 
 อาทิตย์
และวันหยุดนักขัตฤกษ์
รอบ 11.00น. 12.30น. 14.00น. และ 15.30 น.

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ 
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ค่าเข้าชม 
ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท
วันจันทร์ 
 ศุกร์ เปิดเวลา 08.30  17.00 น.
วันเสาร์ 
 อาทิตย์ เปิดเวลา 08.30  18.00 น.


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
โทร. 035-430043 
 4, 035-430033 
โทรสาร 035-439208










- หอบรรหารสุพรรณบุรี



หอคอยบรรหาร-แจ่มใส อำเภอเมือง

   สวนแห่งความรักกลางใจเมืองสุพรรณ หอคอยสีขาวสะอาดตา ท่ามกลางสวนงามและดอกไม้สีสันสดใส ขับกล่อมด้วยเสียงเพลง และลีลาเริงระบำของน้ำพุแสนสวย ยิ่งในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า แปรเปลี่ยนให้สถานที่แห่งนี้เป็นดุจสวนสวรรค์.....   โปรแกรมการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณ จะจบลงด้วยความประทับใจ กับความงดงามยามค่ำคืน ด้วยแสงไฟและเสียงเพลง ในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่จะทำให้ความรักของคุณ สวยงามมากมายกว่าทุกวัน.....

สวนเฉลิมภัทรราชินี หอคอยบรรหาร-แจ่มใส
 
  ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บนถนนนางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เป็นหอคอยแห่งแรกและสูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูงถึง 123.25 เมตร มีชั้นสำหรับชมวิวในระดับสูงสุด 78.75
บนหอได้มีการติดตั้งกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้าน มีร้านขายของที่ระลึกและอาหารว่าง มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ทั้งด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และเรื่องราวน่ารู้ของของจังหวัดสุพรรณบุรีไว้ทั้งหมด บริเวณสวนประดับด้วยดอกไม้นานาพันธุ์  สวนปาล์ม สวนน้ำพุ ธารน้ำตก สไลเดอร์ สนามเด็กเล่น เพลิดเพลินกับลีลาของน้ำพุดนตรี ที่โลดเล่นตามจังหวะของดนตรี


สวนเฉลิมภัทรราชินี บนเนื้อที่ 17 สวนสาธารณะที่งดงดงามแห่งนี้
สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ในวโรกาสครบ 60 พระพรรษา

ค่าขึ้นชมหอคอยบรรหาร-แจ่มใส
เวลา 10.00-18.00 น. 
ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท 

หลังเวลา 18.00 น.        
ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
ค่าเข้าสวนเฉลิมภัทรราชินี 
ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท


เปิดให้เข้าชม วันอังคาร - อาทิตย์
หยุดวันจันทร์
 (ยกเว้นวันนักขัตฤกษ์)

ตามเวลาดังนี้ 
วันอังคาร - ศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
วันเสาร์ - อาทิตย์
และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-20.30 น.

อาคารชั้น1
ชมภาพจิตรกรรมขุนช้างขุนแผน และสินค้าที่ระลึก

อาคารชั้น2
นั่งพักผ่อนสบายๆ กับอาหารว่าง ไอศกรีม และเครื่องดื่ม ชมทิวทัศน์ของบริเวณรอบๆสวน
อาคารขั้น3
จำหน่ายของที่ระลึก และเป็นจุดชมวิวของตัวเมืองสุพรรณบุรี
อาคารชั้น4
ชมทิวทัศน์ของจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง
ด้วยกล้องส่องทางไกล และชมภาพจิตรกรรมเรื่องราวของ สมเด็จพระนเรศวร และภาพสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี





เขื่อกระเสียวอำเภอด่านช้าง

เขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง
    
ช่วงเวลาสั้นๆแต่มีความหมายที่ยิ่งใหญ่สำหรับนักเดินทาง ช่วงเวลาที่แสงสุดท้ายจะลาลับขอบฟ้า ความงดงามที่หลายคนเฝ้ารอคอย.....
    เขื่อนกระเสียว เป็นหนึ่งในสถานที่ที่สามารถชมความงดงาม ยามพระอาทิตย์ตกดินที่สวยที่สุด ของจังหวัดสุพรรณบุรี ยิ่งในช่วงหน้าหนาว แสงสีที่ค่อยๆเปลี่ยนไป ภาพดวงอาทิตย์สีแดงกลมโต ที่ค่อยๆเลื่อนลงเหนือยอดเขา และแสงเงาที่กระทบลงผืนน้ำ อากาศที่หนาวเย็น นับเป็นช่วงเวลาที่มีความหมาย เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง
บริเวณริมเขื่อนมีสถานที่เหมาะกับการกางเต็นท์พักแรมในหน้าหนาว

   เขื่อนกระเสียว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำสร้างกั้นลำห้วยกระเสียว ยาว 4,250 เมตร สูง 32.5 เมตร พื้นที่กักเก็บน้ำ 28,750 ไร่ ปริมาณ น้ำที่สามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุด 240 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนดินที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นแหล่ง เพราะพันธุ์ปลาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทิวทัศน์สวยงาม กลางวันอากาศค่อนข้างร้อน ช่วงเย็นอากาศดีมาก โดยเฉพาะจุดตั้งแค้มป์ริมเขื่อนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม
การเดินทางไปจุดตั้งแค้มป์ จากสี่แยกไฟแดงอำเภอด่านช้างก่อนถึงทางเข้าตัวเขื่อน จะมีถนนขวามือ มีป้าย "แพกระเสียว" วิ่งไปตามทางราดยางอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีแยกซ้ายมือทางไปริมเขื่อนประมาณ 200 เมตร จะถึงจุดกางเต็นท์ ริมเขื่อน ดกางเต็นท์ที่น่าสนใจอีกแห่งจะอยู่ทางตะวันตกของตัวเขื่อนชื่อ "แพชาวเขื่อน"สภาพยังเป็นธรรมชาติ เหมาะกับนักเดินทางที่ไม่เน้นความสะดวกสบายมากนัก ใช้เส้นทางไป อ.หนองปรือ ทางเข้าอยู่ขวามือ เป็นทางลาดยาง จะมีช่วงลูกรังเล็กน้อยก่อนถึงจุดกางเต็นท์ หรือถ้าต้องการพักสบายๆในตัวอำเภอก่อนเดินทางก็มี อย่าง ด่านช้างแค้มปิ้งเฮ้าส์รีสอร์ท ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวในอำเภอด่านช้าง สามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวแถบนั้นได้เป็นอย่างดี และช่วง
อาหารมื้อเย็น ลองไปนั่งรับลมเย็นๆที่ ร้านติดลม บรรยากาศดี



   อำเภอด่านช้าง เปรียบได้กับประตูสู่การเดินทางแนวผจญภัยของเมืองสุพรรณดินแดนที่เต็มไปด้วย ธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ เขื่อนกระเสียวก็เหมือนโอเอซิส แหล่งอาหารแหล่งเสบียง ที่อุดมสมบูรณ์ในเขื่อนเต็มไปด้ายปลา นานาชนิด ที่เพาะเลี้ยงและอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ทั้งปลานิล ปลาม้า ปลาบึก และกุ้งจากเขื่อนกระเสียว ที่หลายคนออกปากว่ารสชาดดี ช่วงปลายฝน ราวเดือนตุลาก็จะมีพืชพันธุ์จากป่าเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก มีทั้งเห็ดโคน หน่อไม้ ผักหวานป่า น้ำผึ้ง.. อำเภอด่านช้าง จึงเป็นที่ที่เตรียมพร้อม เพื่อการเดินทางสู่ดินแดนแห่งป่าเขา ดินแดนแห่งสายหมอก และชนภูเขา อย่าง อุทยานแห่งชาติพุเตย ยอดเขาเทวดา แห่งหมู่บ้านกระเหรี่ยง ตะเพินคี่
บ้านน้ำเอ่อ และ ศร9. ไกรเกรียง





-สามชุกตลาด100ปี


สามชุก ตลาดร้อยปี
   ย้อนเวลา... ค้นหาภาพความทรงจำที่อาจลืมเลือน ภาพอดีตที่ยังคงอยู่ แม้เวลาจะผ่านไปแสนนาน ตลาดเก่าที่มีชีวิต และคอยเล่าเรื่องราวของวันเวลาที่กำลังจะจางหายไปจากความรู้สึก และความทรงจำให้กับผู้คนที่ผ่านมายังตลาดแห่งนี้ 
   ตัวอำเภอยังเป็นตลาดเก่าที่สร้างด้วยไม้เรียงติดกัน อยู่ริมฝังตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ภาพวิถีีชีวิตของผู้คนในชุมชน, สถาปัตยกรรมโบราณ เชิงชายไม้แกะสลัก อาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์ จีนารักษ์ - ร้านขายยาจีน - ไทยโบราณ - ร้านกาแฟโบราณ - ร้านถ่ายรูปโบราณ ฯลฯ ยังคงมีสภาพและรูปแบบเดิมเหมาะแก่การอนุรักษ์ และรักษาให้เป็นบันทึกของชีวิตริมแม่น้ำท่าจีนอีกแห่งหนึ่ง .....
สามชุก ตลาดร้อยปี
ในอดีต..บ้านสามชุกได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือทางการค้าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผู้ที่เดินทางจากตัวเมืองไปอำเภออื่นๆที่เลยออกไป จำเป็นต้องหยุดพักที่สามชุก เพราะได้เวลาค่ำพอดี นอกจากนั้นยังเป็นที่ที่พวกกระเหรี่ยงนำของจากป่า บรรทุกเกวียนมาขายให้พ่อค้าทางเรือ และซื้อของจำเป็นกลับไป
ในสมัยหนึ่งบ้านสามชุกขึ้นกับอำเภอเดิมบางนางบวช เมื่อปี พ.ศ. 2437 ต่อมาปี พ.ศ. 2454 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบริเวณหมู่บ้านสำเพ็ง และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสามชุกเมื่อปี พ.ศ. 2457
มีเนื้อที่ 362 ตารางกิโลเมตร มี 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน
 


อำเภอสามชุก มีประวัติจารึกว่าเคยเป็น ดินแดนที่มี
ความยิ่งใหญ่ในอดีต ในฐานะที่เป็นเสมือนเมืองท่า
ที่สำคัญของ จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ได้เคยเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่มาแต่โบราณ
จากการขุดพบเทวรูปยืน เนื้อหินสีเขียวขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ใน พ.ศ. 2522 ที่บ้านเนินพระ ต.บ้านสระ อ.สามชุก ทำให้นักโบราณคดีเริ่มขุดค้น และเชื่อว่า
 


ณ ที่นี้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยขอมแห่งหนึ่ง ที่มีความสำคัญ โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ใน อาณาจักรทวารวดีระหว่าง พ.ศ.ที่ 16-18 จากการขุดพบ ได้พบลายปูนปั้นเป็นจำนวนมาก เช่น เศียรเทวดา พระพิมพ์เนื้อชิน นางอัปสร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ลายเทพพนม เศียรอสูรขนาดใหญ่ รูปสัตว์ที่ประดับศาสนสถาน  ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง

พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์จีนารักษ์
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2547 ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของ ลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งสัมพันธ์กับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ของเมืองสามชุก ตลาดสามชุก สังคม และสภาพวิถีชีวิต
ของผู้คนสามชุก มีการแสดงประวัติเจ้าของอาคารพิพิธภัณฑ์ คือ ท่านขุนจำนงจีนารักษ์ และกล่าวถึงโครงการสามชุกเมืองน่าอยู่ มีการจัดแสดงผลงานศิลปะผ่านภาพวาด และลายเส้นเกี่ยวกับสามชุกของนักศึกษา
จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  อาคารพิพิธภัณฑ์หลังนี้เดิมเป็นบ้านของ ขุนจำนง จีนารักษ์ ตั้งอยู่ในตลาดสามชุก ซอย 2 ลักษณะเป็นอาคารไม้สามชั้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 2459
อายุกว่า 90 ปี มาแล้ว นางเคี่ยวยี่ จีนารักษ์ ทายาทคนปัจจุบัน ได้อนุญาตให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก ปรับปรุงบ้านจัดทำพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ของท้องถิ่น และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน




  
 ปัจจุบัน... ด้วยความร่วมมือกันของชุมชน ทำให้ตลาดสามชุก เป็นตลาดโบราณที่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และเป็นต้นแบบให้กับอีกหลายๆตลาดที่มีอายุเก่าแก่ ได้กลับมาค้าขายกันเช่นอดีต โดยปรับปรุงดูแล และยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมเมื่อนับร้อยปี จนกระทั้งี พ.ศ. 2552 ชุมชนสามชุกตลาดร้อยปี ได้รับ


บ้านควาย

หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) 
Buffalo Village
   วันและเวลาที่ชีวิตในชนบทได้เปลี่ยนแปลไป ที่อยู่อาศัย การทำเกษตรกรรม มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น เพื่อรองรับกับความสะดวกสบาย จนรูปแบบเก่าๆ หาดูได้ยากลงทุกที และบางสิ่งอาจไม่มีใครเคยได้เห็น และบางสิ่งอาจสูญหายไปจากชีวิต
   บ้านควาย...คือสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว และรูปแบบวิถีชีวิตของคนในชนบท รูปแบบที่กำลังจะเลือนหายไป เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ไม่ควรพลาด หากมีโอกาสได้เดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณ ด้วยสุพรรณ เป็นจังหวัดที่มีอาชีพหลักคือการเกษตรกรรม และ "ควาย" ก็เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อการใข้งาน ที่มีวิถีชีวิตเคียงคู่กับคนสุพรรณโดยตลอดมา....
ควาย....กับ...คน ผูกพันกันมาแต่โบราณ โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนไทยในอดีต เราได้ใช้แรงงานควายเพื่อการเกษตร จนสามารถพูดได้ว่า.... ควายคือชีวิตของคนไทย คนไทยในอดีต ยกย่อง ควาย ว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ โดยจะทำขวัญควายเมื่อสิ้นฤดูไถหว่านเพื่อแสดงความกตัญญูต่อควาย สมัยก่อนเราจะไม่ฆ่าควายเพื่อกินเนื้อ แต่จะเลี้ยงดูอยู่ด้วยกันจนกว่าจะแก่เฒ่า และตายตามอายุขัย
   แต่ปัจจุบัน...หลายอย่างเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแทนที่ ทำให้คนมองคุณค่าของควาย ที่สำคัญและยิ่งใหญ่มาตั้งแต่อดีตกาลนั้น ได้สูญหายลงไปอย่างน่าเสียดาย...


หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย 
   จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นส่วนหนึ่งของภาคกลางที่มีการทำนาอุดมสมบูรณ์มาช้านาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 115 กิโลเมตร ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 -3,800 ปี มีการขุดพบโบราณวัตถุยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธ์ ยุคเหล็ก สืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ หรือเดิมเรียกกันว่า “เมืองทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ” จังหวัดสุพรรณมีสถานที่น่าสนใจมากมาย อาทิโบราณสถาน อารามหลวง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยและสถานที่เกษตรกรรม กับการสาธิตการทำนาที่ชาวบ้านดำรงชีพมาแต่ก่อน

   หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย เป็นสถานที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้จัดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นภาพชีวิตชาวนาชนบทไทย่ดั้งเดิม ภาพการทำนาที่ไม่ใช้เครื่องจักรทันสมัย พร้อมสัมผัสงานฝีมือและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่สะท้อนให้เห็นได้จากกลุ่มหมู่บ้านชาวนาไทยและแบบเรียบง่าย อาทิเช่น บ้านเรือนไม้แบบเรือนปลายนาเป็นที่อยู่อาศัยของคนที่มีฐานะค่อนข้างยากจน มีการก่อสร้างแบบเรียบง่าย เรือนศรีประจันต์เป็นบ้านที่สร้างจากไม้แท้หลังค่ามุงจากและกระเบื้องซึ่งเป็นหลังที่สี่และมีขนาดที่ใหญ่โตกว่าซึ่งถือได้ว่าเป็นครอบครัวที่ขยายใหญ่สุดและมีฐานะค่อนข้างร่ำรวยหน่อย และมีอุปกรณ์ต่างที่เก็บไว้ยิ่งน่าศึกษามากยิ่งขึ้น

“คนกับควาย ทุ่งนากับควาย” เป็นสิ่งที่จะขาดไม้ได้ในแถบนี้ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยได้รวบรวมสิ่งเหล่านี้ไว้สำหรับการศึกษาด้านการเกษตรกรรมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อนักเรียน นักศึกษาจะได้ศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ ของการทำนา การทำเกษตรกรรมแบบชาวนาชนบทอย่างเรียบง่าย ๆ โดยร่วมการใช้ควายในการทำนา 




รอบการแสดง - และเวลาเปิดทำการ
**การเปิดทำการ เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด
**
เวลาเปิด เวลา 09.00 – 18.00 น. 
**รอบการแสดง วันธรรมดา มี 2 รอบ (วันจันทร์ – วันศุกร์) เวลา 11.00 – 11.30 น.
และเวลา 15.00 – 15.30 น.
**รอบการแสดง วันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์ มี 3 รอบเช้า เวลา 11.00 – 11.45 น.,
รอบบ่ายเวลา 14.30 – 15.15 น. และ 16.00 – 16.45 น.
รายละเอียดเกี่ยวกับการแสดง 
**สำหรับวันธรรมดาจะมีการแสดงจะมีเฉพาะการแสดงความสามารถของควายแสนรู้อย่างเดียวคือ เริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกี่ยวกับเรื่องของควายก่อน เช่น ประวัติความเป็นมา สายพันธุ์ ตั้งท้องกี่เดือน ตกลูกกี่ตัว/กี่ปี การนำมาใช้งาน วิธีการนำมาใช้งาน การใช้งานในด้านต่าง ๆ คืออะไรบ้างเป็นต้น ต่อจากนั้นเริ่มการแสดงอย่างเต็มที่ คือ เริ่มตั้งแต่การสวัสดีผู้ชม, ควายนอนพักผ่อน,ควายนอนตาย, ควายยิ้ม, วิธีการขึ้นควาย 3 วิธี, การทำท่าสะพานควายนับพันปี, การรอดใต้ท้องควาย, ควายเดินข้ามคน, ควายขึ้นที่สูง, รวมไปถึงให้ลูกค้าทดลองนั่งควาย, สุดท้ายคือให้ลูกค้าทดลองนั่งควายเทียมเกวียนชมรอบแปลงนาสาธิต

**สำหรับวันหยุดจะเพิ่มการแสดงขึ้นมาอีก 1 อย่าง คือ เพลงอีแซวพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งจะเป็นน้อง ๆ จากโรงเรียนรอบ ๆ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย การร้องเพลงอีแซวเนื้อหาโดยคล่าว ๆ จะพูดถึงเกี่ยวกับสถานที่ บุคคล และบรรยากาศโดยทั่ว ๆ ไปของสถานที่นั้น ๆ และต่อด้วยการแสดงของควาย (ตามรายละเอียดข้างต้น)


ราคาค่าเข้าชมสถานที่
**สำหรับคนไทย สำหรับบัตรแยกตามจุด
ค่าเข้าชมสถานที่ ผู้ใหญ่ 30 บาท / ท่าน เด็ก 20 บาท / ท่าน
ค่าชมโชว์ ผู้ใหญ่ 20 บาท / ท่าน เด็ก 10 บาท / ท่าน
ค่านั่งเกวียน ผู้ใหญ่ 20 บาท / ท่าน เด็ก 10 บาท / ท่าน

**สำหรับคนไทย สำหรับบัตรรวม (รวมค่าเข้าสถานที่ + ชมโชว์ + นั่งเกวียน)
ค่าเข้าชมสถานที่ ผู้ใหญ่ 60 บาท / ท่าน เด็ก 40 บาท / ท่าน


**สำหรับชาวต่างชาติ สำหรับบัตรแยกตามจุด
ค่าเข้าชมสถานที่ ผู้ใหญ่ 150 บาท / ท่าน เด็ก 70 บาท / ท่าน
ค่าชมโชว์ ผู้ใหญ่ 100 บาท / ท่าน เด็ก 70 บาท / ท่าน
ค่านั่งเกวียน ผู้ใหญ่ 100 บาท / ท่าน เด็ก 70 บาท / ท่าน

**สำหรับชาวต่างชาติ สำหรับบัตรรวม (รวมค่าเข้าสถานที่ + ชมโชว์ + นั่งเกวียน)
ค่าเข้าชมสถานที่ ผู้ใหญ่ 300 บาท / ท่าน เด็ก 210 บาท / ท่าน
นอกจากนี้ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ยังมีโปรแกรมหลากหลายให้นักเรียนนักศึกษา และนักท่องเที่ยว ได้ร่วมสนุกและได้ความรู้ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวนาไทย(ตัวอย่างโปรแกรม)
โปรแกรม สุพรรณสัญจร “ย้อนอดีตวิถีชีวิตไทย 1 วัน”
สำหรับนักเรียนชั้น อนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 4
Suphan Back to Thai Traditional Life Program

ฟังคำบรรยาย เรื่องข้าว, ชาวนา, ควาย พิธีการทำขวัญข้าว
เริ่มกิจกรรม ไถนา คราดนา หว่านข้าว ดำนา
เรียนการสอนบังคับควายในการใช้งาน ได้แก่ การขึ้นควาย การให้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เป็นต้น
ชมการแสดงควายแสนรู้

โปรแกรม สุพรรณสัญจร “ย้อนอดีตวิถีชีวิตไทย” 5 วัน 4 คืน
Suphan Back to Thai Traditional Life Program

ฟังคำบรรยาย เรื่องการปลูกช้าว วัฎจักรชีวิตของข้าว ชาวนา ควาย พิธีการทำ
ขวัญข้าวของภาคกลาง การเตรียมดินเพื่อทำนา ไถนา คราดนา ดำนา ถอนกล้า
เรื่องเกี่ยวกับการปลูกสร้างบ้านของคนไทยสมัยก่อน อาทิเช่น
เรือนแบบเครื่องผูก เรือนแบบเครื่องสับ เรือนผู้ที่มีอันจะกิน คือเรือนเครื่อง
สับซึ่งเป็นไม้เนื้อแท้ เรือนเครื่องผูกซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนคือไม้ไผ่
เรียนการสอบบังคับควายให้ทำงาน ได้แก่ การเดินเลี้ยวซ้าย-ขวา
ชมการแสดงความสามารถของควาย และการทำขวัญควาย
ฝึกเรียนการสอนขั้นพื้นฐานของการนวดแผนโบราณ
เรียนการสอนการทำอาหาร และการไปตลาดซื้อกับข้าว
การทำเกษตรแบบพอเพียง
ล่องแม่น้ำท่าจีนชมชีวิตการเป็นอยู่สองฟากฝั่งริมน้ำ และกิจกรรมตกปลา


โปรแกรมสุพรรณสัญจรย้อนอดีตวิถีไทย (One Day)
กิจกรรมทำนาที่บ้านควาย
09.00 – 09.00 น. เดินทางถึงหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เจ้าหน้าที่ต้อนรับ
และให้ข้อมูลโดยคล่าว ๆ ว่าน้อง ๆ มาทำกิจกรรมอะไรกันบ้างในวันนี้
09.00 – 09.30 น. กิจกรรมฐานที่ 1 ค.ควายน่ารัก ฐานนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง “ควาย” ทั้งหมด
เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็น การค้นพบ การนำมาใช้งาน การเลี้ยงดู ตลอดจนวิธีการ
บังคับ การนำมาใช้งาน เป็นต้น (เป็นฐานรวม)
09.30 – 10.00 น. กิจกรรมฐานที่ 2 คือ ฐานหมู่บ้านชาวนา ฐานนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวเรื่องบ้านชาวนาทั้ง
หมดเริ่มตั้งแต่ บ้านหลังแรก จนถึงหลังสุดท้าย มาดูกันว่าบ้านแต่ละหลังใช้วัสดุอะไร
บ้าง มีวิธีการสร้างอย่างไรบ้าง และองค์ประกอบรอบ ๆ บ้านมีอะไรบ้าง
10.00 – 10.30 น. กิจกรรมฐานที่ 3 คือ ฐานวัฏจักรข้าวและการดำนา สำหรับฐานนี้จะให้ข้อมูลเริ่มตั้งแต่
ระดับต่าง ๆ ของข้าวว่าแต่ละช่วงอายุของข้าวเป็นอย่างไรบ้าง วิธีการดำนาเป็นอย่างไร
และน้อง ๆ จะได้สัมผัสกับวิธีการเตรียมดิน การหว่านข้าว การดำนา เป็นต้น
10.30 – 11.00 น. กิจกรรมฐานที่ 4 คือ ฐานจากท้องนาสู่ลานข้าว ฐานนี้เมื่อชาวนาได้เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
แล้วก็จะทำการนวดข้าว โดยใช้แรงงานจากควาย เมื่อนวดเสร็จแล้วก็จะนำไปสีข้าว
ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่เราจะได้ข้าวสารออกมารับประทานกันแล้ว
11.00 – 11.30 น. กิจกรรมฐานสุดท้าย คือ ฐานที่ 5 คือ ฐานการแปรรูปข้าว ในจุดนี้น้อง ๆ จะได้ทราบว่า
นอกจากข้าวที่รับประทานเป็นข้าวสวยอย่างเดียวแล้ว เราสามารถเป็นอะไรได้บ้าง
อย่าง เช่น ขนมครก ข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ข้าวเหนียวปิ้ง เป็น-
ต้น และมาทราบขั้นตอนของการโม่แป้ง การทำขนมครก
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ตามจุดต่าง ๆ ของหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย
13.00 – 13.30 น. ชมโชว์การแสดงความสามารถของควายแสนรู้ เรามาดูกันว่านอกจากควายจะไถนา-
คราดนาแล้ว เจ้าควายที่นี้จะสามารถทำไรได้อีกบ้าง อย่างเช่น การสวัสดีผู้ชม ควายยิ้ม
ควายขึ้นที่สูง เป็นต้น



วัดแคร์ คุ้มขุนแผน


วัดแค ต้นมะขามยักษ์ คุ้มขุนแผน  อำเภอเมือง
   มะขามยักษ์วัดแค ตำนาน หรือ นิทานพื้นบ้าน "ขุนช้าง - ขุนแผน"
เรื่องจริง...เรื่องเล่า...หรือนิทาน...... มะขามยักษ์อายุนับร้อยปี ตัวต่อยักษ์ กับความเชื่อ เรื่องราวเหนือธรรมชาติที่หลายคนมองเป็นเรื่องขบขัน แต่อีกหลายคนเชื่อ และให้ความศัทธา และเดินทางมาเพื่อค้นหาคำตอบ.....
   ความเชื่อ... เป็นเรื่องปรกติในสังคมเมืองไทย บางเรื่องทำให้คนมีกำลังใจในการดำเนินชีวิต และก้าวเดินต่อไป และมุมกลับกัน ความเชื่ออาจทำให้หลายคนก้าวเดินไปบนเส้นทางที่ขาดซึ่งเหตุผล.................
   ไม่ว่าคุณจะคิดอย่างไร คำตอบที่ได้รับ เราคงต้องเข้ามาค้นหาด้วยตัวเราเอง บางที่ สิ่งที่คิด อาจไม่ใช่..และสิ่งที่ใช่ เราอาจไม่เคยคิด...
วัดแค สุพรรณ

วัดแค
   เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อปรากฏในวรรณคดี เรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” อยู่ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ไปทางเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุประมาณ 2 กิโลเมตร ภายในวัดนี้มีต้นมะขามใหญ่วัดโคนต้นโดยรอบได้ประมาณ 10 เมตร เชื่อกันว่าขุนแผนได้เรียนวิชาเสกใบมะขามจากต้นมะขามต้นนี้ ให้เป็นตัวต่อตัวแตนจากท่านอาจารย์คงไว้โจมตีข้าศึก นอกจากนี้ทางจังหวัดได้สร้างเรือนไทยทรงโบราณเรียกว่า “คุ้มขุนแผน” ไว้ใกล้กับต้นมะขามยักษ์นี้อีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสวัดแคเมื่อ พ.ศ. 2447
   วัดนี้มีโบราณวัตถุที่น่าสนใจ ได้แก่ พระพุทธบาทสี่รอย ทำด้วยทองเหลือง กว้าง 1.40 เมตร ยาว 2.80 เมตร สร้างซ้อนกันไว้ในรอยใหญ่ นอกจากนี้ก็มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบศิลปะรัตนโกสินทร์ จีวรและอังสะเป็นดอกพิกุลงดงามมาก ประดิษฐานอยู่ในวิหารหน้าพระประธาน สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ก็มี เช่น ระฆังทองเหลือง หม้อต้ม กรักทองเหลือง ตู้ใส่หนังสือที่พระบาทสมเด็จพระ-จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเมื่อปี 2412


วัดแค สุพรรณบุรี

วัดแค สุพรรณบุรี

คุ้มขุนแผน สุพรรณบุรี


แผนที่ไปวัดแค สุพรรณบุรี


ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี 


ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.สุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) 
ร่วมกับจังหวัดสุพรรณบุรี ได้กำหนดจัดงานท่องเที่ยวขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งได้มีกำหนดการจัดงานดังนี้



เทศกาลทุ่งทานตะวันบานสุพรรณบุรี
1-15 ธันวาคม 2555

   งานทุ่งทานตะวันบานสุพรรณบุรีมีกำหนดการจัดงานในวันที่ 1-15 ธันวาคม 2555 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จ. สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ ต.พลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี หรืออีกชื่อหนึ่ง “สวนสวรรค์สุพรรณบุรี” ภายในงานมีนิทรรศการวิชาการเรื่องการเพาะเลี้ยงเห็ดโอ่งเสริมรายได้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ การอนุบาลพืชภายใต้โรงเรือนอนุบาล การออกร้านค้าของดีเมืองสุพรรณบุรี ผลิตภัณฑ์ OTOP ของชุมชน มีการจำหน่ายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับราคาถูกแก่ผู้มาเที่ยวชมภายในงาน นอกจากนี้ยังมีสวนสวยงามและพรรณไม้อีกมากมาย
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13028908/E13028908.html




เทศกาลไม้ดอกเมืองหนาว
16 ธันวาคม 2555 ถึง 6 มกราคม 2556

   งานเทศกาลไม้ดอกเมืองหนาว ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จ. สุพรรณบุรี หรือ “สวนสวรรค์สุพรรณบุรี” ได้กำหนดงานจัดในวันที่ 16 ธันวาคม 2555 ถึง 6 มกราคม 2556 ภายในงานพบกับไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวหลากหลายสีสันและหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ลิลลี่ แกลดิโอลัส (ดอกคำมั่นสัญญา) พิทูเนีย แพงพวย กุหลาบนางฟ้า บีโกเนีย หน้าวัวสายพันธุ์ต่างประเทศ และเลือกชิมลูกสตรอเบอรี่สดๆ จากสวนสวรรค์สุพรรณบุรีที่แรกและที่เดียวในภาคกลางที่ปลูกสตรอเบอรี่ได้สำเร็จ นอกจากนี้ภายในงานยังพบกับ การออกร้านของดีเมืองสุพรรณบุรี สินค้า OTOP ของชุมชน พรรณไม้ราคาถูกจากสวนเกษตรกรให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกลับไปปลูกกันอีกด้วย

งานมหัศจรรย์ทิวลิปบานสุพรรณบุรี
24 ธันวาคม 2555 ถึง 6 มกราคม 2556

   มหัศจรรย์ทิวลิปบานสุพรรณบุรี ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จ.สุพรรณบุรี เริ่มจัดงานในวันที่ 24 ธันวาคม 2555 ถึง 6 มกราคม 2556 พบกับทิวลิปหลากหลายสีสันหลากหลายสายพันธุ์ มากกว่า 15,000 ต้น ดอกไฮยาซิน ที่มีสีสันสวยงามและส่งกลิ่นหอมทั่วบริเวณงาน พันธุ์เยอบีร่านำเข้าจากต่างประเทศ สีสันสวยมากกว่า 13 สี พันธุ์ไม้เมืองหนาวอื่นๆอีกมากมาย และเลือกชิมลูกสตรอเบอรี่สดๆ จากสวนสวรรค์สุพรรณบุรีที่แรกและที่เดียวในภาคกลางที่ปลูกสตรอเบอรี่ได้สำเร็จภายในงานยังพบกับ การออกร้านของดีเมืองสุพรรณบุรี สินค้า OTOP ของชุมชน พรรณไม้ราคาถูกจากสวนเกษตรกรให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกลับไปปลูกกันอีกด้วย




งานกุมภาสัญญารัก1-14 กุมภาพันธ์ 2556

   งานกุมภาสัญญารัก ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จ.สุพรรณบุรี เริ่มจัดงานในวันที่ 1-14 กุมภาพันธ์ 2556 บริเวณงานพบกับสวนกุหลาบสายพันธุ์ วาเลนไทน์ จัดรูปแบบสวนสไตล์แวร์ซายน์ (รูปทรงเรขาคณิต) ออกดอกสีแดงชูช่อบานสะพรั่งเพื่อต้อนรับกับเทศกาลวันแห่งความรัก และในวันที่ 14 กุมภาพันธุ์ 2556 ยังได้มีการจัดพิธีมงคลสมรสหมู่ จดทะเบียนสมรสหมู่ ณ บริเวณสวนกุหลาบสวนสไตล์แวร์ซายน์ ภายในงานยังพบกับ การออกร้านของดีเมืองสุพรรณบุรี สินค้า OTOP ของชุมชน พรรณไม้ราคาถูกจากสวนเกษตรกรให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อเลือกชมอีกด้วย
 



สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จ.สุพรรณบุรี
โทร 035-437705 หรือ โทร 089-8373277การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุพรรณบุรี
โทร. 035–535789, 536030

www.tatsuphan.net
คำว่า “สวนสวรรค์สุพรรณบุรี” คือสมญานามที่นักท่องเที่ยวตั้งให้ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) คือชื่ออย่างเป็นทางการ   เป็นหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ส่งเสริมการเพราะปลูกของเกษตรกร โดยการขยายพันธุ์ต้นกล้าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในโรงเรือน ด้วยการใช้เนื้อเยื่อ และแจกจ่ายหรือจำหน่ายให้เกษตรกร และเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้ความรู้ กับผู้ที่สนใจ และศึกษาค้นคว้าพันธุ์พืชใหม่ๆ สถานที่น่าสนใจภายในศูนย์ ทิวทัศน์โดยรอบจะประดับด้วยพรรณไม้ต่างๆ ทั้งไม้ดอก ไม้ใบ ไม้ผล มีห้องอาหารที่ตกแต่งไว้สวยงาม ด้านหลังมีสระน้ำ ที่ประดับด้วยบัววิกตอเรีย
โรงเรือนเพาะพันธุ์ต้นกล้าพันธุ์ไม้จากเนื้อเยื้อ โรงเรือนขนาดใหญ่ สำหรับจำหน่ายต้นไม้ ทั้งไม้ดอก ไม้ผล ในราคาถูก และในส่วนพื้นที่ว่างนับร้อยไร่ ก็จะเป็นบริเวณ
 ทุ่งทานตะวัน ในช่วงวันพ่อแห่งชาติ ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือนโดยจะบานสะพรั่งสวยงามที่สุดราวๆ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี และในช่วงเดียวกัน ภายในสวนสวรรค์แห่งนี้ ยังงดงามด้วย ดอกไม้เมืองหนาว นานาพันธุ์ และที่พลาดชมไม่ได้ ดอกทิวลิป หลากสีสัน ที่จะบานพร้อมกันในช่วงปีใหม่... และช่วงวันแม่แห่งชาติ ก็จะพบกับสีชมพูแสนหวานของ ทุ่งดอกกระเจียว ที่จะแบ่งบานอวดโฉมกันตลอดเดือนสิงหาคม
เป็นอีกสถานที่ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะท่านที่รักต้นไม้ก็ไม่น่าจะพลาดชม


 สอบถามข้อมูลเปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี
ต.พลับพลาชัย อ.อู่ทอง
จ.สุพรรณบุรี 72160
โทรศัพท์ 035-437704-5หรือ 089-8373277
โทรสาร 035-437705 ต่อ 102




วัดไผ่โรงวัว อำเภอสองพี่น้อง 
มีคำกล่าวเตือนไม่ให้ทำในสิ่งไม่ดี 
ไม่เช่นนั้นตายไปจะเป็น "เปรตวัดไผ่"
ในสมัยเด็กก็ไม่เคยเห็นเปรต แต่ก็กลัว ตอนหลังได้มาเห็นเปรตที่วัดไผ่ ยิ่งทำให้กลัวการทำบาปมากขึ้น เปรต รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ลองมาชมดู
   วัดไผ่โรงวัว สมัยก่อนเป็นวัดที่ใครๆที่มาสุพรรณ ต้องแวะกราบใหว้ และชมความสวยงาม ใหญ่โตของพุทธศิลปะ ต่อมาการจัดการภายในไม่ดี ทำให้วัดเริ่มไม่มีระบบระเบียบ เป็นภาพที่ไม่สวยงามกับผู้มาพบเห็น แต่ปัจจุบันได้มีการจัดระบบภายในวัด ให้เป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้วัดเริ่มกลับมาสวยงาม เหมือนเดิม ถึงจะไม่ 100% แต่ก็นับว่าพัฒนาขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางตาเถร ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 43 กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯ
ประมาณ 70 กิโลเมตร  ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี มีทางแยกซ้ายก่อนถึงสามแยกลาดบัวหลวงเข้าสู่วัดไผ่โรงวัว  วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธ-ศาสนิกชน และบุคคลทั่วไป นิยมไปเที่ยวชมกันมาก หลวงพ่อขอม  ได้ดำเนินการก่อสร้าง “พระพุทธโคดม” เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 17 ปี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกพระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2512

ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนา ได้แก่  “สังเวชนียสถาน 4 ตำบล”  คือสถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน  กับงานประติมากรรมหรือภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ  รวมทั้งวรรณคดีและประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมี  “พระธรรมจักร”  หล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก  “พระกะกุสันโธ”  พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “ฆ้องและบาตร” ใหญ่ที่สุดในโลก  “พระวิหารร้อยยอด” รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย







ตลาดบางลี่ เมืองสองฤดู
   
ผู้ที่ไม่รู้จักตลาดบางลี่ มักเข้าใจผิดว่า บางลี่ เป็นชื่ออำเภอ ทั้งที่เป็นชื่อชุมชนตลาดขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพราะเป็นที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญและความก้าวหน้าในทุกๆด้าน (คล้ายกับตลาดท่าช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช)
   อำเภอสองพี่น้อง เคยตั้งอยู่บริเวณตลาดบางลี่ แต่จะชื่ออำเภอบางลี่หรือไม่ไม่ทราบชัด ตลาดบางลี่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มแอ่งกระทะของอำเภอสองพี่น้อง ตั้งอยู่ริมคลองสองพี่น้อง ฝั่งทิศใต้ คลองสองพี่น้อง เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติแหล่งสำคัญที่ใช้อุปโภค บริโภค กันมาแต่โบราณ และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักของชาวตลาดบางลี่และชาวสองพี่น้องในครั้งอดีต

 
เทศบาลสองพี่น้องจัดงาน
เทศกาลอาหารดี ตลาดบางลี่เมืองสองฤดู ครั้งที่ ๕ 
ณ บริเวณเทศบาลเมืองสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
๒๗ กุมภาพันธ์ ถึง ๓ มีนาคม ๒๕๕๖
   นายวิโรจน์ คณูวัฒนา นายกเทศมนตรีเมืองสองพี่น้อง เปิดเผยว่า เทศบาลเมืองสองพี่น้องได้กำหนดจัดงานเทศกาลอาหารดี ตลาดบางลี่เมืองสองฤดู ครั้งที่ ๕ ขึ้น ในระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ สำนักงานเทศบาลเมืองสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรุงและการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และได้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น โดยได้รวบรวมร้านอาหารหลากประเภทหลายเมนูที่ได้รับป้ายอาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) รับรองคุณภาพและความอร่อยจากทั่วทั้งจังหวัดสุพรรณบุรีมาให้เลือกชิมกว่า ๑๐๐ ร้าน รวมทั้งอาหารพื้นบ้านสองพี่น้องจากฝีมือแม่ครัวมือหนึ่งจาก ๑๙ ชุมชนในเขตเทศบาล

   โดยใน วันพุธที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๐๐ น. ชอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพิธีเปิดงานเทศกาลอาหารดีตลาดบางลี่เมืองสองฤดู ครั้งที่ ๕ ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่และประทับใจ พร้อมความบันเทิงจากศิลปินนักร้องชื่อดังที่จะมาสร้างความสุขและรอยยิ้มให้กับทุกท่าน

วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พบกับศิลปินนักร้องมากความสามารถ หนู มิเตอร์    วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พบกับนักร้องสาว ลูกตาล อาร์สยาม    วันที่ ๑ มีนาคม พบกับ เวสป้า อาร์สยาม พร้อมฟังเพลงฮิต “ติดปีกความคิดถึง”    วันที่ ๒ มีนาคม พบกับนักร้องสาว บิว กัลยาณี เจ้าของเพลง “อิจฉา”และ”เพียงสองเรา”   วันที่ ๓ มีนาคม ฟังเพลง “ไก่ตาฟาง” และ “ควาย” จากศิลปิน ธันวา ราศีธนู
   นอกจากนี้ยังมีการแสดงจากนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล และความสนุกสนานบนเวทีมากมาย พร้อมทั้งมหกรรมสินค้า OTOP ให้ทุกท่านได้เลือกซื้อเลือกช้อปกันอย่างจุใจอีกด้วย
   เทศบาลเมืองสองพี่น้องจึงขอเชิญชวนทุกท่านมาเลิศรส อร่อยล้ำ สนุกล้นในงานเทศกาลอาหารดี ตลาดบางลี่เมืองสองฤดู ครั้งที่ ๕ ระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ถึง ๓ มีนคม ๒๕๕๖ ณ สำนักงานเทศบาลเมืองสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทุกท่านจะได้อิ่มอร่อยกับอาหารเลิศรสพร้อมอิ่มเอมกับความสุข และพบกับความประทับใจที่ไม่มีวันลืมเลือน
สำนักงานเทศบาลเมืองสองพี่น้อง
๗ ถนนราษฎร์บำรุง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ๗๒๑๑๐
โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๑๐๑๒ ต่อ ๑๑๓ โทรสาร ๐ ๓๕๕๓ ๑๕๐๕

www.Spn-city.com




ประวัติการก่อตั้งตลาดบางลี่
มีข้อสันนิษฐานอีก ๒ เรื่อง ตามที่ ***คุณสกุณา ฉันทดิลก*** ค้นคว้าไว้ดังนี้
   เรื่องแรกเล่าว่าตลาดบางลี่ตั้งขึ้นทีหลังตลาดอำเภอ(สองพี่น้อง)เก่า(ตั้งอยู่ใกล้ๆโรงงานผลิตน้ำดื่มโยโจ้) หรือที่คนแต่ก่อนเรียกกันว่าตลาดสาน(บางคนว่าน่าจะเรียกตลาดศาล) เพราะตลาดอำเภอเก่าแต่ก่อนนั้นตั้งอยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอสองพี่น้องดั้งเดิม และสถานีตำรวจภูธรอำเภอสองพี่น้อง สมัยนั้นตลาดสานหรือตลาดอำเภอเก่าคงเป็นตลาดศูนย์กลางของอำเภอสองพี่น้อง มีพวกกองเกวียนบรรทุกของจากป่าดอนมาขาย เส้นทางจากป่าดอน ก่อนถึงตลาดสาน มีลำรางบางน้อย และลำรางบางใหญ่ กั้น ถ้าหน้าแล้งก็มาได้เลยเพราะลำรางแห้งแต่ถ้าหน้าน้ำน้ำจากคลองสองพี่น้องจะไหลเข้ามาในลำรางทั้งสองทำให้พวกกองเกวียนต้องจอดรออยู่ตรงบริเวณที่ว่างก่อนถึงลำรางบางน้อย ก็คือย่านตลาดบางลี่แถวโรงเจฮกเฮงตั๊วในปัจจุบัน มีพวกคนจีนหัวดีชวนพวกกองเกวียนเล่นการพนันและค้าขายกันที่ตรงนั้นจนเกิดเป็นชุมชนแห่งใหม่ มีการปลูกห้องแถวแห่งแรกให้พวกคนจีนเช่าอยู่อาศัยและค้าขายกัน ต่อมาได้มีชาวจีนตามมาสมทบมากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ คือตลาดบางลี่ในปัจจุบัน
   ถ้าเป็นจริงตามเรื่องนี้ตลาดบางลี่ก็จะตั้งขึ้นราวๆรัชกาลที่ ๕ เพราะอำเภอสองพี่น้อง ตั้งขึ้นราวๆปี พ.ศ.๒๔๓๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๕



   เรื่องที่ ๒ เล่าว่าตลาดบางลี่ นั้นเกิดจากบรรดาพ่อค้าชาวจีนรุ่นบุกเบิกที่มาจากเมืองจีนกลุ่มหนึ่งได้มาตั้งหลักแหล่งทำเกษตรกรรมและค้าขายกันอยู่ในหมู่บ้านสองพี่น้องซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของชาวไทยท้องถิ่น แต่หมู่บ้านสองพี่น้องเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมอยู่เป็นเวลานานทำการค้าขายไม่สะดวก จึงโยกย้ายขึ้นไปอยู่ตรงบริเวณพื้นที่ตลาดบางลี่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ดอนกว่า ผนวกกับที่เดิมเริ่มคับแคบเพราะมีลูกหลานมากขึ้น จึงต้องย้ายไปหาทำเลใหม่ที่จะค้าขายได้สะดวกขึ้น ต่อมาพี่น้องชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ก็อพยพเข้ามาหาที่ทำมาหากินตามญาติๆที่มาก่อนจึงทำให้ชุมชนตลาดบางลี่กลายเป็นชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ขึ้นดังในปัจจุบัน



อุทยานแห่งชาติพุเตย
                        อำเภอด่านช้าง

 
ดินแดนแห่งขุนเขา ป่าหนึ่งเดียวที่สมบูรณ์ที่สุดของเมืองสุพรรณ เป็นชายป่าผืนสุดท้ายของป่าห้วยขาแข้ง เป็นสถานที่ที่เหมาะกับนักเดินทางทีหลงใหลในธรรมชาติ ความสงบเงียบ ป่าเขา น้ำตก ความงดงามงามของดวงอาทิตย์ยามเช้า ไอหมอก ความหนาวเย็น และวิถีชีวิตของชนชาวกระเหรี่ยงสถานที่กางเต็นท์มี 3 จุดใหญ่ๆ ได้แก่
  - หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 1 
(ด้านวังคัน-ป่าขี)
  - ที่ทำการอุทยานฯ พุเตย 
(ด้านปลักประดู่-ห้วยหินดำ)
  - หน่วยพิทักอุทยานฯ พุเตยที่ 3 ตะเพินคี่ 
(ด้านปลักประดู่-ตะเพินคี่)
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขต อุทยานแห่งชาติพุเตย 
ป่าสนสองใบธรรมชาติ 
มีประมาณกว่า 1,300 ต้น  อยู่บนเทือกเขาพุเตยเป็น ป่าแปลกมหัศจรรย ์เพราะป่าสนจะเจริญเติบโตในพื้นที่
ภูเขาสูงชัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป แต่ป่าสนแห่งนี้เจริญเติบโตบนพื้นที่ที่มีความสูงจาก
ระดับน้ำทะเลเพียง 763 เมตรเท่านั้นสภาพป่าสมบูรณ์มาก จนได้รับเลือกให้เป็นศูนย์แม่พันธุ์ไม้สนสองใบในภาคกลาง บางต้นมีขนาดใหญ่วัดได้ถึง 2-3 คนโอบ ห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1 (พุเตย) ประมาณ 12 กิโลเมตร

วนอุทยานถ้ำเขาวง, ถ้ำพุหวาย
จาก อ.ด่านช้าง ไปทาง อ.บ้านไร่-บ.สะนำ แยกซ้ายไปวนอุทยานฯ 
ห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1 (พุเตย) รวมระยะทาง 52 ก.ม. ผ่านวัดถ้ำเขาวง

หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่ (ที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 3 ตะเพินคี่) เป็นป่าที่สวยงาม และเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านกะเหรี่ยง ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยมากว่า 200 ปี ผืนป่า และต้นน้ำตะเพินคี่ ยังคงสภาพสมบูรณ์ เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยล่องไพร เป็นดินแดนแห่งความหนาวเย็น ในหน้าหนาวอุณหภูมิจะลดลง 5-6  ํC ยอดเขาเทวดาที่ความสูงกว่า 1000 เมตร และยังเป็นดินแดนรอยต่อของสามจังหวัดสุพรรณบุรี-อุทัยธานี-กาญจนบุรี  การเดินทาง หน้าฝนควรเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ส่วนหน้าแล้งรถยนต์นั่งธรรมดาก็สามารถไปได้ แต่ควรเป็นรถปิคอัพ
น้ำตกตะเพินคี่น้อย 
เป็นน้ำตกขนาดเล็กอยู่ใกล้กับหมู่บ้านตะเพินคี่ มีน้ำไหลตลอดปี เป็นความงดงามทางธรรมชาติ ที่คนภายนอกไม่ค่อยได้มีโอกาสไปสัมผัส เหมาะสำหรับผู้ที่รักการเดินทางแบบผจญภัยเล็กๆ
น้ำตกตะเพินคี่ใหญ่ 
เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีสองชั้น ความสูงประมาณชั้นละ 5-6 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี
เพราะเป็นต้นน้ำและบ่อน้ำผุด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และยังมีถ้ำที่สวยงามที่ยังอยู่ระหว่างการสำรวจ

   การเดินทาง
หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 1 (ด้านวังคัน-ป่าขี)
อยู่ห่างจากอำเภอด่านช้าง ประมาณ 33 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 333 เดินทางจากอำเภอด่านช้างถึงบ้านวังคัน ประมาณ 15 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายที่สามแยกบ้านวังคัน ถึงบ้านป่าขี ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่ออีก 3 กิโลเมตรเป็นทางลาดยางตลอดระยะทาง กรุงเทพ - หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1(พุเตย-ป่าขี) 210 ก.ม.
ที่ทำการอุทยานฯพุเตย (พุเตย-ห้วยหินดำ)
จากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ 1 ตรงไปตามทางลูกรังอีก 15 ก.ม. ผ่านศาลเลาดาห์
หรือ ถ้ามาจากกรุงเทพ ก่อนถึง อ.ด่านช้าง แยกซ้ายเข้าเส้นทาง 
หมายเลข 3086  ถึงสี่แยกบ้านปลักประดู่
เลี้ยวขวา - ทุ่งมะกอก - ห้วยหินดำ......ตามป้ายไปจนถึงที่ทำการฯ
ระยะทาง กรุงเทพ - ที่ทำการอุทยานฯพุเตย (พุเตย-ห้วยหินดำ) 240 ก.ม.
หน่วยพิทักอุทยานฯ พุเตยที่ 3 ตะเพินคี่ (ด้านปลักประดู่-ตะเพินคี่)
จากอำเภอด่านช้าง เดินทางไปบ้านบ้านปลักประดู่ (เส้นทาง 3086) - บ้านวังยาว   ไปบ้านกล้วยป่าผาก
เลี้ยวซ้ายขึ้นเขาอีกประมาณ 14 ก.ม. ตามเส้นทางหินลูกรังไป หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่ อยู่ติดเขตแนวกันชนมรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ระยะทาง กรุงเทพ - หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่ (หน่วยพิทักษ์อุทยานที่ 3)  260 ก.ม.



อุทยานแห่งชาติพุเตย ตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี มีเนื้อที่  198,422 ไร่ จัดตั้งขึ้นเนื่องจากกรมป่าไม้เห็นว่า พื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์บางส่วนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ และป่าห้วยพลู ท้องที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารในการเกษตร ของจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี มีทิวทัศน์สวยงาม สัตว์ป่าชุกชุม สมควรอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ จึงแต่งตั้งให้  นายพันเทพ   อันตระกูล นักวิชาการกรมป่าไม้ ไปทำการสำรวจบุกเบิกเตรียมการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปี 2541   จึงได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 84  ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 115 ตอนที่ 67ก ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติพุเตย" ต่อมาได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 2421/2543 ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ให้โอนงานวนอุทยาน "ถ้ำเขาวง" ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของป่าไม้เขตนครสวรรค์ จำนวน 8,125 ไร่ ผนวกเข้าเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติพุเตย โดยให้มีการจัดการตามระบบอุทยานแห่งชาติ
   ลักษณะภูมิประเทศ  สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงติดต่อกันสลับซับซ้อน จุดสูงสุดที่ยอดเขาเทวดา ระดับความสูง  1,123  เมตร เป็นต้นน้ำลำธาร ซึ่งไหลลงอ่างเก็บน้ำลำตะเพิน ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีคลอง  ลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยเหล็กไหล ห้วยวังน้ำเขียว  ห้วยองค์พระ  ห้วยท่าเดื่อ  ห้วยขมิ้น   ห้วยองคต ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของชาวสุพรรณบุรี และเป็นต้นกำเนิดของเขื่อนกระเสียว
   พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นเช่น ป่าสนสองใบ  ป่าเต็งรัง
อุทยานแห่งชาติพุเตยมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน สัตว์ที่มีเป็นจำนวนมากในพื้นที่ ได้แก่   เลียงผา นกเงือก ชะนี ลิงลม
   สภาพภูมิอากาศ สภาพอากาศ มีลมมรสุมพัดผ่านตลอดปี  เกิดฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ประมาณ เดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ฤดูหนาว ประมาณปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือน กุมภาพันธ์  และฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส แต่ในฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิประมาณ 10 - 15 องศาเซลเซียส  และที่หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่นั้นมีอุณหภูมิประมาณ 5-6 องศาเซลเซียส
 


สถานที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก และการเตรียมตัวอุทยานแห่งชาติพุเตย มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว และสถานที่กางเต็นท์สะอาด นักท่องเที่ยวควรเตรียมอุปกรณ์ในการพักแรมไปด้วย เช่น เต็นท์ ถุงนอน เปลสนามฯลฯ แต่หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะค้างแรมใน กรณีที่ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์พักแรมไปด้วย ทางอุทยานฯ ได้ปรับปรุงบ้านพักราชการไว้เป็นห้องพักรับรองนักท่องเที่ยวชั่วคราว และมีเต็นท์ให้บริการ อาหารควรเตรียมไปเอง นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปกางเต็นท์บนเข้าสนได้ ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ข้างบนจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก



อุทยานมัจฉา วัดพระนอน
อำเภอเมือง

   แม่น้ำท่าจีน ตอนที่ผ่านเมืองสุพรรณชาวบ้านก็เรียกกันว่า "แม่น้ำสุพรรณ"
ตลอดลำน้ำสายนี้ อุดมไปด้วยสัตว์น้ำมากมายโดยเฉพาะ..ปลาชนิดต่างๆ
เรียกได้ว่าไม่มีแม่น้ำสายไหนที่มีปลามากขนาดนี้ และเป็นปลาที่อาศัยตามธรรมชาติ ปลาเหล่านี้มีบ้านที่พักพิง และคุ้มครองให้ได้อาศัยอย่างปลอดภัย.....
วัดพระนอน  ตั้งอยู่ตำบลพิหารแดง เลยวัดหน่อพุทธางกูรไปเล็กน้อย วัดพระนอนนี้อยู่ติดกับแม่น้ำท่าจีน สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมี อุทยานมัจฉา อยู่บริเวณริมน้ำหน้าวัด มีปลานานาชนิดชุกชุม ทั้งปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาแรด ทางวัดประกาศเป็นเขตอภัยทาน ปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ผลและไม้ประดับ บริเวณวัดจึงร่มรื่นสวยงาม และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ขึ้นหน้าขึ้นตาแห่งหนึ่งของจังหวัด และยังมีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์สลักจากหิน มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในลักษณะนอนหงายขนาดเท่าคนโบราณยาวประมาณ 2 เมตร ลักษณะคล้ายกับพระนอนที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งใน Unseen Thailand อีกด้วย








11. อาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 3 
(สวรรค์แห่งโลกใต้ทะเล) 
จัดแสดงพันธุ์ปลาทะเลมากมายหลายชนิด ให้ได้ชมกัน มีตู้ปลาขนาดใหญ่ และตู้ปลารูปทรงแปลกตา เพื่อคอยบริการนักท่องเที่ยวให้ได้ชื่นชมกับ  ความสวยงาม และบรรยากาศของโลกใต้ทะเล รวมทั้งตื่นตาตื่นใจกับอุโมงค์ปลา และบันไดเลื่อน ขนาดความยาว 75 เมตร เพื่อให้ได้ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของ สัตว์ทะเลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งบ้านของเจ้าแห่งท้องทะเล หรือปลาฉลามอีกจำนวนมาก ภายอาคารในพบกับ
ตู้ปลาทรงกระบอก (Cylinder) 
ใหญ่และสูงที่สุดในเมืองไทย
เปิดโลกใต้ทะเล 
(The Open Sea) 
ชมความงามของปลากระเบนนก
ปลาฉลามครีบดำ ปลาค้างคาว.......
ตู้ยักษ์ใต้สมุทร 
(Giant Groupter) 
พบปลาหมอทะเล 
ปลากระเบนท้องน้ำ เต่าทะเล
และอุโมงค์ยาว 12.50 เมตร....
ตู้แนวประการัง (Coral reef)
พบกับฝูงปลาขนาดใหญ่ ปลาปักเป้า ปลาผีเสื้อ...
ว่ายวนบนแนวประการังเทียมที่สีสันสวยสดงดงาม
ตู้ประการังสีฟ้าจากโอกินาวา (Okinava blue)เนรมิตประการังภายในตู้เปรียบเสมือน
ประการังแห่งท้องทะเลโอกินาวา ...
อุโมงค์ปลาฉลาม (Shark Tunnel)
ตื่นตากับฝูงปลาฉลามขนาดใหญ่ ฉลามเสือทราย
ฉลาดเสือดาว ฉลามครีบดำ และอุโมงค์ยาว 16 เมตร
กว้าง 6 เมตร ซึ่งเป็นอุโมงค์ปลาที่กว้างที่สุดในโลก.....
ตู้สีสันสิมิลัน (Similan Cliff)
ตกแต่งด้วยประการังสีชมพู กัลปังหาที่สวยงาม
และปลาสีสันสวยงามหลากหลายชนิด

การแสดงการให้อาหารปลาฉลาม
มีเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์
และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มี 1 รอบ
ตั้งแต่เวลา 14.00 
 15.00 น.
ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 50 บาท  ชาวต่างชาติ 200 บาท เด็กต่างชาติ 100 บาท
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.